วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ประเภทของเงินทุน

ประเภทของเงินทุน

ประเภทของเงินทุน
การประกอบธุรกิจให้ประสบผลสำเร็จผู้ประกอบการจะต้องสามารถจัดการเงินทุนที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งเงินทุนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. เงินทุนคงที่ หมายถึง เงินที่ใช้สำหรับซื้อสินทรัพย์ถาวรต่าง ๆ เช่น อาคารสถานที่ อุปกรณ์การผลิต การก่อสร้าง รวมไปถึงที่ดิน เงินทุนคงที่ถือเป็นทุนเริ่มต้นที่มีความสำคัญมาก เพราะหากไม่มีกิจการก็ไม่สามารถเปิดดำเนินการได้ ทุนประเภทนี้มักจะมีจำนวนที่แน่นอนไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงมากนัก บางธุรกิจสามารถเริ่มต้นด้วยเงินทุนเล็กน้อย เช่น ธุรกิจขนาดย่อม แต่บางธุรกิจต้องใช้เงินทุนสูงมาก เช่น ธุรกิจขนาดใหญ่

2. เงินทุนหมุนเวียน หมายถึง เงินที่จะต้องใช้จ่ายในการประกอบธุรกิจ เงินทุนหมุนเวียนจึงถูกนำไปใช้เพื่อการชำระหนี้สิน ค่าแรงงาน ค่าวัตถุดิบ ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า เป็นต้น ในการเริ่มต้นธุรกิจผู้ประกอบการจึงมีความต้องการเงินทุนทั้งเงินทุนคงที่และเงินทุนหมุนเวียน เพื่อใช้สำหรับการดำเนินธุรกิจ
องค์การธุรกิจสามารถจัดหาเงินทุน เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการตามระยะเวลาได้ 2 ประเภท คือ
เงินทุนระยะสั้นหมายถึง เงินทุนที่องค์การธุรกิจจัดหา เพื่อใช้ดำเนินงาน มีกำหนดระยะเวลาจ่ายคืนไม่เกิน 1 ปี ได้แก่ การจัดหาทรัพย์สินหมุนเวียน จ่ายเงินเดือนพนักงาน ซื้อวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิตแหล่งในการจัดหาเงินทุนระยะสั้นได้แก่
1. ธนาคารพาณิชย์ การจัดหาเงินทุนระยะสั้นจากธนาคารพาณิชย์ขององค์การ ธุรกิจแบ่งเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
1.1 การเบิกเงินเกินบัญชีธนาคาร คือ องค์การธุรกิจมีบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทกระแสรายวันเมื่อองค์การธุรกิจมีความต้องการเงินทุนระยะสั้น สามารถทำข้อตกลงกับธนาคารขอเบอกเงินมากกว่าจำนวนที่ฝากไว้ โดยธนาคารอาจขอให้ใช้หลักทรัพย์บุคคลมาค้ำประกัน และธนาคารคิดดอกบเบี้ยจากจำนวนเงินที่เบิกเกินบัญชีเงินฝากไปใช้
1.2 การนำสินค้นหรือใบรับสินค้าค้ำประกันการกู้ คือ องค์การธุรกิจกู้เงินจากธนาคารโดยนำสินค้นหรือสลักหลังใบรับสินค้าเป็นหลักประกันการกู้จากธนาคาร กำหนดการชำระเงินเมื่อจำหน่ายสินค้าได้
2. ใช้เอกสารเครดิต คือองค์การธุรกิจใช้เอกสารเครดิตในการกู้เงินจากเจ้าหนี้เอกสารที่ใช้ในการกู้ระยะสั้นได้แก่ เช็คลงวันที่ล่วงหน้า การขายลดตั๋วเงินให้ธนาคารหรือสถาบันการเงิน ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้เจ้าหนี้
3. สินเชื่อทางการค้า คือ องค์การธุรกิจจัดหาเงินทุนระยะสั้นได้ตามประเพณีการค้า โดยการซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ ได้สินค้าก่อนชำนะเงินภายหลัง หรือการรับรองตั๋วแลกเงินที่เจ้าหนี้เป็นผู้ออก
เงินทุนระยะยาว หมายถึง เงินทุนที่องค์การธุรกิจจัดหามีกำหนดระยะเวลาจ่ายคืนเกินกว่า 5 ปีแหล่ง
การจัดหาเงินทุนระยะยาว ได้แก่
1. เจ้าของทุนองค์การธุรกิจ โดยการเพ่มทุนของเจ้าขององค์การธุรกิจประเภทเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วน และการออกจำหน่ายหุ้นทุนขององค์การธุรกิจ ประเภทบริษัทจำกัด หุ้นทุนของบริษัท ได้แก่
1.1 หุ้นสามัญ บริษัทออกหุ้นสามัญจำหน่ายให้แก่ประชาชน เพื่อนำเงินไปเป็นทุนของบริษัท โดยผู้ถือหุ้นสามัญมีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมบริษัท และได้รับเงินปันผลในกรณีบริษัทมีกำไร แต่อัตราเงินปันผลของห้นสามัญไม่กำหนดแน่นอน
1.2 หุ้นบุริมสิทธิ บริษัทออกหุ้นบุริมสิทธิจำหน่ายให้แก่ประชาชน เพื่อนำเงินไปเป็นทุนของบริษัท โดยผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิไม่มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมบริษัท และรับเงินปันผลเป็นอัตราแน่นอน
2. ธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินอื่น องค์การธุรกิจสามารถจัดหารเงินทุนระยะยาวได้โดยการกู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินอื่น โดยมีหลักทรัพย์ค้ำประกันในการกู้ยืม เช่น ที่ดิน อาคาร เป็นต้น
3. จำหน่ายพันธบัตร องค์การธุรกิจสามารถจัดหาเงินทุนระยะยาวได้ โดยออกเอกสารจำหน่ายให้แก่ประชาชน ผู้ถือพันธบัตรมีสภาพเป็นเจ้าหนี้ของ องค์การธุรกิจ ผลตอบแทนที่ได้รับคือ ดอกเบี้ยที่มีอัตราแน่นอน ไม่ว่าองค์การธุรกิจจะมีกำไรหรือขาดทุน
4. กู้ยืมจากรัฐบาล รัฐบาลมีนโยบายให้องค์การธุรกิจขนาดเล็กกู้ระยะยาวโดยคิดดอกเบี้ยในอัตราต่ำ เพื่อส่งเสริมการขยายตัวของธุรกิจ
การบัญชีขององค์การธุรกิจ
การประกอบธุรกิจทุกประเภท มีความจำเป็นที่จะต้องจัดทำบัญชี เพื่อประโยชน์ในการควบคุมบริหารงานของธุรกิจเอง และเพื่อประโยชน์ในการคำนวณภาษี ดังนั้น การจัดทำบัญชีของธุรกิจจำเป็นต้องอยู่บนพื้นฐาน และหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 285 กำหนดไว้ ดังนี้
ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
การประกอบธุรกิจ กฎหมายได้กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดทำบัญชี โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจประเภทนิติบุคคลไม่ว่าจะอยู่ระหว่างดำเนินกิจการ หรือไม่ดำเนินกิจการก็ตาม จะต้องจัดทำบัญชี ซึ่งผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการจัดทำบัญชีขององค์กรธุรกิจมีดังนี้
1. องค์การธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล

1.1 บริษัทจำกัด ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี คือ กรรมการบริษัท
1.2 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี คือ หุ้นส่วนผู้จัดการ
1.3 ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี คือ หุ้นส่วนผู้จัดการ
2. ร้านค้าบุคคลธรรมดา ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี คือ เจ้าของ
                                   
ที่มา https://www.gotoknow.org/posts/599996